ความเป็นมาของใบเตย


บ้านต้นเปาเริ่มเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปมากขึ้น ประกอบกับตลาดกระดาษสาและผลิตภัณฑ์กระดาษสาในเมืองไทยเริ่มขยายต่อเนื่องทั้งในและต่างประเทศ  บางคนมารับงานไปทำที่บ้านเป็นอาชีพเสริมให้กับครอบครัว  นอกจากนั้นยังมีผู้ผ่านการฝึก  การทำกระดาษสาและ ผลิตภัณฑ์จากกระดาษสา  จากบ้านอนุรักษ์กระดาษสาได้ไปประกอบอาชีพเป็นผู้ผลิตอุตสาหกรรมในครัวเรือนของตนเอง  ถ้าหากไม่สามารถหาตลาดจำหน่ายได้เอง  ก็จะนำผลิตภัณฑ์มาฝากจำหน่ายหรือขายให้ทางบ้านอนุรักษ์กระดาษ
ความเป็นมาของใบเตยหอม
          สมุนไพรเตยหอมนั้นคนไทยคุ้นเคยกันมานาน เนื่องจากอดีตนิยมนำเตยหอมมาประกอบอาหารและขนมหวาน  เช่น  ไก่อบห่อใบเตย  ใช้แต่งกลิ่นเวลาหุงข้าวเจ้าและข้าวเหนียว หรือนำไปแต่งกลิ่นและสีของขนม  เช่น  วุ้นกะทิ  ขนมชั้น  ขนมเปียกปูน  ขนมลอดช่อง  ขนมขี้หนู ฯลฯ  เตยหอมมีชื่อเรียกตามท้องถิ่นว่า  ปาแนะวองิง  หวานข้าวไหม้  ปาเนถือจิ  ปาหนัน  พั้งลั้ง
กุหลาบใบเตยหอม.jpgขนมชั้นใบเตย.jpgขนมเปียกปูนใบเตย.jpg




เตยหอมจัดเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ขึ้นเป็นกอ ชอบขึ้นในที่ชื้นและใกล้น้ำ  ลำต้นกลมต่อเป็นข้อ ๆ ข้อที่อยู่ใกล้โคนลำต้นจะมีรากงอกออกมาเพื่อค้ำลำต้น  ใบจะออกจากลำต้นเรียงเวียนแน่นรอบลำต้น  ใบมีสีเขียว  รูปเรียวยาวคล้ายหอก ปลายใบแหลม  ขอบใบเรียบ  ไม่มีหนาม  ใบมีกลิ่นหอมเย็น  ไม่มีดอก  ขยายพันธุ์โดยใช้หน่อเล็ก ๆ นำมาปลูก  ส่วนที่นำมาใช้เป็นยาคือ ใบ โดยใบเตยประกอบด้วยน้ำมันหอมระเหยและมีสีเขียวของคลอโรฟิลล์ ซึ่งในน้ำมันหอมระเหยประกอบไปด้วยสารหลายชนิด ใบเตยใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ ช่วยลดการกระหายน้ำ ซึ่งเมื่อเรารับประทานน้ำใบเตยจะรู้สึกชื่นใจและชุ่ม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น