บันทึกการทดลอง สรุปผลการทดลอง

บันทึกผลการทดลอง 
          บันทึกลักษณะสีที่ติด การกระจายของสีบนเยื่อกระดาษที่ผลิต
ขั้นตอนที่ 4 การนำกระดาษสาที่ผลิตไปแปรรูปใช้ประโยชน์
          การนำกระดาษที่ผลิตไปแปรรูปใช้ประโยชน์  เช่น  นำไปทำกล่องกระดาษทิชชู  จัดบอร์ด  ทำดอกไม้  การ์ดอวยพรต่างๆ  ที่ขั้นหนังสือ  ถุงกระดาษ  ฯลฯ 


สรุปผลการทดลอง
          1.   กระดาษสาที่ผลิตจากใบเตยหอมกับกระดาษหนังสือพิมพ์  อัตราส่วน  200   : 50  กรัม  เป็นอัตราส่วนที่เหมาะสมที่สุดในการทำเป็นกระดาษสา  รองลงมาคือ  ใบเตยหอมกับกระดาษโรเนียว  และใบเตยหอมกับกระดาษกล่อง  ตามลำดับโดยใช้ใบเตยหอมเป็นตัวควบคุม ( control ) 
          2.   สีที่เหมาะสมการทำกระดาษสาที่มีคุณภาพดีที่สุด  ได้แก่  สีย้อมผ้า  รองลงมาคือ  สีโปสเตอร์และสีผสมอาหาร  ตามลำดับ  โดยใช้ปริมาณสีของกระดาษแต่ละประเภทที่เท่ากัน  จำนวน  15  กรัม
ข้อเสนอแนะ
ของชำร่วยกระดาษสา.jpg          1.   การหาสูตรที่เหมาะสมควรจะหาวัสดุที่มีความหลากหลายและแตกต่างกันหลาย ๆ  ชนิด
          2.   ควรนำกระดาษสาที่ผลิตได้  ไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใช้ประโยชน์ให้มากกว่านี้




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น